ส่วนที่   1  สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1.ด้านกายภาพ
1.1     ที่ตั้งของหมู่บ้าน 
ตำบลดงหม้อทองใต้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอบ้านม่วง    จังหวัด
สกลนครระยะห่างจากอำเภอบ้านม่วง    ประมาณ  15    กิโลเมตร   มีพื้นที่ทั้งหมด 148.14  ตารางกิโลเมตร   หรือ   92,590  ไร่  คิดเป็น   17.43 %  ของอำเภอบ้านม่วง
          ทิศเหนือ          ติดต่อกับอำเภอโซ่พิสัย       จังหวัดบึงกาฬ
          ทิศใต้             ติดต่อกับตำบลมาย  ตำบลห้วยหลัว      จังหวัดสกลนคร
          ทิศตะวันออก     ติดต่อตำบลดงหม้อทอง     อำเภอบ้านม่วง   จังหวัดสกลนคร
          ทิศตะวันตก      ติดต่อกับอำเภอเฝ้าไร่   จังหวัดหนองคาย
1.2     ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลดงหม้อทองใต้มีลักษณะเป็นลอนลูกคลื่นลึกและลอนลูกคลื่นต่ำสลับกันโดยความ
สูงอยู่ที่    150 – 190    เมตร       จากระดับน้ำทะเลปานกลาง  70 %    ของพื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวน                                                                                             
          1.3     ลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลดงหม้อทองใต้มีภูมิอากาศเป็นแบบร้อนแห้งแล้งมี ฤดูกาล 3 ดังนี้
                   -    ฤดูหนาว    เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน -  กุมภาพันธ์    อากาศจะหนาวเย็นมากในเดือนมกราคม  สภาพอากาศแห้งแล้ง
                   -    ฤดูร้อน    เริ่มจากเดือนมีนาคม – เมษายน    สภาพอากาศร้อนแห้งแล้ง
                   -    ฤดูฝน      เริ่มจากเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม    ฝนตกมากในเดือนสิงหาคม  สถิติน้ำฝน  10  ปี   ตั้งแต่ปี  2545 – 2554  เฉลี่ย   1,760.23  มิลลิเมตร   จำนวนวันฝนตก  10  ปี  เฉลี่ย  114  วันต่อปีปริมาณฝนตกน้อยที่สุดในรอบ  10  ปี  คือปี   2546  มีปริมาณน้ำฝนเพียง  1,960.8  มิลลิเมตร
          1.4     ลักษณะของดิน
          1.5     ลักษณะของแหล่งน้ำ
          1.    แหล่งน้ำธรรมชาติ
          1.1    ลำน้ำสงคราม    เป็นลำน้ำขนาดใหญ่ไหลผ่านบ้านดงหม้อทองและบ้านเหล่าสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหารของราษฎรแหล่งใหญ่  เช่น  สัตว์น้ำต่าง ๆหน่อไม้พืชผักธรรมชาติ  เป็นต้น
          1.2    ห้วยอีไฮ    ต้นน้ำเกิดจากป่าดงหม้อทองไหลผ่านบ้านนาสมบูรณ์    บ้านวังน้ำขาว  บ้าน โคกสง่า    บ้านนาเจริญ   ไหลลงลำห้วยมาย  เป็นเหล่งน้ำที่สำคัญใช้ในการปลูกพืชทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง    นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งจับสัตว์น้ำใช้ในการเลี้ยงสัตว์  มีน้ำตลอดปี
          1.3    ห้วยสนาบ    ต้นน้ำเกิดบริเวณวัดป่าด่านม้า    เป็นลำห้วยที่ใช้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำด่านม้า   ไหลผ่านบ้านนาเจริญ บ้านโคกสง่า    บ้านเหล่าสมบูรณ์  ใช้ในการเพาะปลูกและจับสัตว์น้ำมีน้ำตลอดปี
          1.4    ห้วยทราย    ไหลผ่านบ้านดงหม้อทองใช้ประโยชน์ในการหาสัตว์น้ำ  ปลูกพืช  เลี้ยงสัตว์
          1.5    ห้วยมาย    ไหลผ่านบ้านโคกสง่า  ใช้ในการจับสัตว์น้ำ
          1.6    ห้วยคำอีอ่อม    ใช้ในการปลูกพืชฤดูแล้งของราษฎรบ้านโคกสง่า   บ้านนาเจริญ
          1.7    ห้วยภูดิน    ใช้ในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ของราษฎรบ้านเหล่าสมบูรณ์
          1.8    ห้วยหนองนาแซง    อยู่ในเขตหมู่ที่    5  มีน้ำตลอดปี
          1.9    ห้วยแคน    อยู่ในเขตบ้านดงหม้อทอง    หมู่  2  มีน้ำตลอดปี
          1.10  ห้วยบอน อยู่ในเขตหมู่ที่ 3 มีน้ำตลอดปี
          1.11  ห้วยโศกเม็ก  อยู่ในเขตหมู่ที่ 4 มีน้ำตลอดปี
          1.12  ห้วยหินคันนา  อยู่ในเขตหมู่ที่ 9 มีน้ำตลอดปี
2.    แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
                   แหล่งน้ำชลประทาน   อ่างเก็บน้ำ  จำนวน  2  อ่าง  คือ
          1.    อ่างเก็บน้ำด่านม้าแล่น   อยู่ในเขตบ้านโคกสง่า   พื้นที่ใช้น้ำ   100   ไร่
          2.    อ่างเก็บน้ำห้วยหินคันนา    อยู่ในเขตบ้านดงหม้อทอง   ใช้ในการปลูกพืช   จับสัตว์น้ำและทำน้ำประปาหมู่บ้านใช้  3   หมู่บ้านคือ   บ้านดงหม้อทองหมู่ 2  บ้านดงหม้อทองหมู่  6  และบ้านดงหม้อทองหมู่  8
          3.    หนองหวาย    อยู่ในเขตบ้านเหล่าสมบูรณ์หมู่ที่   5   มีน้ำตลอดปีใช้ในการปลูกพืชฤดูแล้ง
          4.    อ่างเก็บน้ำพระราชดำริ   อยู่ในเขตบ้านดงหม้อทองหมู่ 9
          1.6     ลักษณะของไม้และป่าไม้
ป่าไม้ตำบลดงหม้อทองใต้ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนดงหม้อทอง    แต่ปัจจุบันมีราษฎรเข้าไปอาศัยทำกินทำให้สภาพป่าไม้เสื่อมโทรม    สภาพป่าไม้ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เบญจพรรณที่ยังไม่มีการแผ้วถางทำกินรวมถึงป่าช้าที่สาธารณะ  วัดป่า
          2.ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1     เขตการปกครอง        
ตำบลดงหม้อทองใต้     มีองค์การบริหารส่วนตำบล   1     แห่ง   และแบ่งเขตการปกครองออกเป็น  10  หมู่บ้าน     ดังนี้
                   องค์การบริหารส่วนตำบลดงหม้อทองใต้  ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลดงหม้อทองใต้เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล      เมื่อพุทธศักราช  2539   ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย  ปัจจุบันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง
                   ตำบลดงหม้อทองใต้   มีกำนันและผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำทางการปกครอง  ดังนี้
          หมู่ที่    1        บ้านโคกสง่า               นายกิตติ   แสนศรี                  เป็นผู้ใหญ่บ้าน
          หมู่ที่    2        บ้านดงหม้อทอง           นายประสงค์  หันประดิษฐ์         เป็นผู้ใหญ่บ้าน
          หมู่ที่    3        บ้านวังน้ำขาว              นายจันทร์เพ็ญ   ปัญญาดิษฐ์       เป็นผู้ใหญ่บ้าน  
หมู่ที่    4        บ้านนาสมบูรณ์            นายนาดี  เทพคำดี                  เป็นผู้ใหญ่บ้าน
          หมู่ที่    5        บ้านเหล่าสมบูรณ์          นายสันต์   กิขุนทด                 เป็นผู้ใหญ่บ้าน
          หมู่ที่    6        บ้านดงหม้อทอง           นายวิกรานต์   ทองเฟื่อง           เป็นกำนัน
          หมู่ที่    7        บ้านนาเจริญ               นายสันติ  เจริญสุข                 เป็นผู้ใหญ่บ้าน
          หมู่ที่    8        บ้านดงหม้อทอง           นายณรงค์   บุ้งทอง                 เป็นผู้ใหญ่บ้าน
          หมู่ที่    9        บ้านดงหม้อทอง           นายสนอง      อินสาคร            เป็นผู้ใหญ่บ้าน
          หมู่ที่    10      บ้านเหล่าสมบูรณ์          นายขันติ  ขันเงิน                   เป็นผู้ใหญ่บ้าน
2.2     การเลือกตั้ง  
 
 
 
 
3.    ประชากร
          3.1   ประชากร    ตำบลดงหม้อทองใต้มีประชากรทั้งสิ้น  8,524   คน    แยกเป็นชาย  4,329   คน หญิง      4,195   คน    มีความหนาแน่น    85  คน/ตารางกิโลเมตร   จำนวนครัวเรือน   2,152  ครัวเรือน    มีรายละเอียดดังนี้
 

หมู่ที่ หมู่บ้าน จำนวนประชากร จำนวนหลังคาเรือน
ชาย หญิง รวม (หลังคา)
1 บ้านโคกสง่า 381 387 768 186
2 บ้านดงหม้อทอง 522 524 1,046 280
3 บ้านวังน้ำขาว 613 583 1,196 273
4 บ้านนาสมบูรณ์ 471 458 929 245
5 บ้านเหล่าสมบูรณ์ 355 355 710 190
6 บ้านดงหม้อทอง 513 475 988 246
7 บ้านนาเจริญ 588 542 1,130 252
8 บ้านดงหม้อทอง 287 286 573 139
9 บ้านดงหม้อทอง 436 404 840 206
10 เหล่าสมบูรณ์ 250 236 486 135
รวม 4,416 4,250 8,666 2,152
ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
จำนวนแรงงาน  แรงงานในครัวเรือนของเกษตรกรนั้น   โดยเฉลี่ยแล้วจะมีครัวเรือนละ   3  คน   และอัตราค่าจ้างแรงงานนั้นวันละ  200-300   บาท   โดยเป็นอัตราค่าจ้าง   ในภาคการเกษตรส่วนการอพยพแรงงานนั้น  เมื่อหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยว  ช่วงเดือน  ธันวาคม  -  กลางเดือนเมษายน   ได้แก่การรับจ้างในภาคเกษตรที่ภาคใต้  และการก่อสร้างและกรรมกรใน กทม. ประมาณ   70 %
          4.       สภาพสังคม
4.1    การศึกษา 
ตำบลดงหม้อทองใต้มีโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 4 แห่ง  และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  4  แห่ง
          1.    โรงเรียนขาวสง่าเจริญวิทย์    ตั้งอยู่ที่บ้านวังน้ำขาว หมู่ที่  3   บ้านที่รับบริการ  คือ  บ้านโคกสง่าบ้านนาเจริญ   และบ้านวังน้ำขาว  เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล – ระดับมัธยมต้น
          2.    โรงเรียนบ้านดงหม้อทอง   ตั้งอยู่ที่บ้านดงหม้อทอง   หมู่  6   บ้านที่รับบริการ  คือ  บ้านดงหม้อทอง  4   หมู่บ้าน   เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล- ระดับมัธยมตอนปลาย
          3.    โรงเรียนบ้านขี้เหล็กเหล่าสมบูรณ์   ตั้งอยู่บ้านเหล่าสมบูรณ์  หมู่ 10   บ้านที่รับบริการ  คือ  บ้านเหล่าสมบูรณ์  หมู่ที่  5  และหมู่ที่  10  และบ้านขี้เหล็ก  ตำบลดงหม้อทอง  เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล – ระดับมัธยมตอนต้น
          4.    โรงเรียนบ้านด่านสมบูรณ์  ตั้งอยู่ที่บ้านนาสมบูรณ์  หมู่บ้านรับบริการ  คือ บ้านนาสมบูรณ์ บ้านด่านไชโย   ตำบลมาย   เปิดสอนระดับอนุบาล - ประถมศึกษา 
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้แก่
          1.    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกสง่า  ตั้งอยู่ที่  บ้านโคกสง่า หมู่ที่ 1
          2.    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเหล่าสมบูรณ์  ตั้งอยู่ที่   บ้านเหล่าสมบูรณ์  หมู่ที่  10
          3.    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดงหม้อทอง  ตั้งอยู่ที่   บ้านดงหม้อทอง หมู่ที่  6
          4.    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาสมบูรณ์   ตั้งอยู่ที่   บ้านนาสมบูรณ์  หมู่ที่  4
4.2    สาธารณสุข
          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล   มีจำนวน  2  แห่ง  ได้แก่  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกสง่า   และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงหม้อทอง
          โรคระบาดที่สำคัญ    -    โรคอุจาระร่วง                            ช่วงที่ระบาด               ฤดูร้อน
                                     -    โรคไข้เลือดออก                         ช่วงที่ระบาด               ฤดูฝน
4.3    อาชญากรรม
          ราษฎรในแต่ละหมู่บ้าน  มีการตั้งเวรยามผลัดเปลี่ยนกันดูแลความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านของตนเองและช่วงเทศกาลสำคัญจะมี อปพร.เข้าเวรยามเพื่อรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง
          4.4     ยาเสพติด
4.5     การสังคมสงเคราะห์
5.       ระบบบริการพื้นฐาน
5.1     การคมนาคมขนส่ง
เส้นทางการคมนาคมระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนลูกรัง     สามารถเดินทางติดต่อกันได้สะดวกทุกฤดูกาล     มีถนน    คสล.  ภายในหมู่บ้านเป็นบางแห่ง   ตำบลดงหม้อทองใต้มีถนนลาดยางน้อย
ถนนภายในหมู่เป็นถนนลูกรัง /  ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก  ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนลูกรัง
ถนนเข้าแหล่งการเกษตรเป็นถนนลูกรัง
5.2     การไฟฟ้า
มีไฟฟ้าใช้ 10 หมู่บ้าน
5.3     การประปา
ประปาหมู่บ้าน 19 แห่ง
5.4     โทรศัพท์
          -    โทรศัพท์สาธารณะ   - แห่ง
5.5     ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุครุภัณฑ์
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข - แห่ง
          -    สถานีคมนาคมอื่น ๆ -  แห่ง
          6.       ระบบเศรษฐกิจ
6.1     การเกษตร
โดยส่วนใหญ่ประชากรจะมีอาชีพทำนา   เลี้ยงสัตว์  รับจ้างทั่วไป  ทำสวน  ค้าขาย  ช่างไม้ ทอผ้า ปลูกผัก   การผลิตข้าว  มีราษฎรเกือบทั้งหมดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงหม้อทองใต้ประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก
          การผลิตพืชไร่  ปลูกพืชไร่ไว้จำหน่ายและบริโภคนอกฤดูกาลทำนา  มันสำปะหลัง,ถั่วลิสง,ข้าวโพด, แตงโม ,  อ้อย,   พริก,  มะเขือ , หวาย
          ไม้ผลไม้ยืนต้น    ไม้ผลกินผล  เช่น มะม่วง  มะขาม  ลำไยไม้ยืนต้นอื่น ๆ  เช่น  ยางพารา ไผ่
ต้นยูคาลิปตัส
          พืชผัก  พืชผักกินใบกินผล    กินยอดต่าง  ๆ  
 
6.2     การประมง
6.3     การปศุสัตว์
สัตว์เศรษฐกิจที่เกษตรกรนิยมเลี้ยง  มีดังนี้
โคพื้นเมือง , โคพันธ์ลูกผสม ,  กระบือ ,  สุกรพันธุ์พื้นเมือง  ,  เป็ดเทศ,   เป็ดพันธุ์ไข่,  การเลี้ยงปลาประเภทที่ราษฎรนิยมเลี้ยงปลา  คือ  ปลานิล  ปลาตะเพียนขาว  ปลาจีน  ปลานวลจันทร์  ปลายี่สกเทศ   ปลาดุกลูกผสม  ไว้เพื่อการบริโภคและจำหน่าย
6.4     การบริการ
6.5     การท่องเที่ยว
6.6     อุตสาหกรรม
6.7     การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
มีการทอผ้านอกฤดูการทำนา    ทอเสื่อ  จักสาน    ที่เป็นลักษณะของการทำไว้ใช้ในครัวเรือน แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์  อุปกรณ์ตกแต่งบ้านที่นำบวบมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ที่เรียกว่า “ผลิตภัณฑ์จากใยบวบ” ทีนำไปจำหน่ายกรุงเทพมหานคร
 
6.8     แรงงาน
7.       เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น
7.1     ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน
7.2     ข้อมูลด้านการเกษตร
7.3     ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
7.4     ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้
8.       ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8.1     การนับถือศาสนา
ประชากรในตำบลส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 
8.2     ประเพณีและแรงงานประจำปี
มีบุญประเพณีที่ถือปฏิบัติเป็นประจำแต่ละเดือน  ดังนี้
          เดือนอ้าย    บุญสู่ขวัญ  คือ   เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว   จะนำข้าวส่วนหนึ่งตามศรัทธาไปรวมกันที่วัด   แล้วนิมนต์พระมาสวดทำพิธีเพื่ออัญเชิญคุณข้าว
          เดือนสาม    บุญข้าวจี่   คือเมื่อถึงวันที่   15   ค่ำ  เดือนสาม   จะนำข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนแล้วนำไปจี่  โดยนำข้าวจี่ไปตักบาตร
          เดือนสี่    บุญพระเวส    คือ    บุญประเพณีที่ทำกันอย่างใหญ่โต มีการแห่พระเวสสันดรเข้าเมืองมีการเทศน์มหาชาติและการขอฟ้าขอฝน
          เดือนห้า    บุญสงกรานต์   คือบุญ  ประเพณีประจำปี  ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ 12 – 15  เมษายน  ของทุกปีมีการทำบุญสรงน้ำพระรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุและผู้ที่เคารพนับถือ   รวมทั้งการขอพรจากผู้สูงอายุ ผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้าน
          เดือนหก    บุญบั้งไฟ เป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือน นิยมทำกันในเดือน 6 หรือเดือน 7 อันเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่าน ไถ เพื่อเป็นการบูชาพญาแถนขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล
          เดือนแปด    บุญเข้าพรรษา    คือ  บุญประเพณีที่ชาวบ้านจะไปทำบุญแห่เทียนผ้าอาบน้ำฝนถวายพระที่วัดเพื่อพระสงค์จะได้จำพรรษา  ได้ตลอด 3  เดือน
          เดือนเก้า    บุญข้าวประดับดิน   คือ   บุญประเพณีที่ชาวบ้านจะนำข้าวปลา  อาหารไปทำบุญที่วัดและแบ่งข้าวปลา   อาหาร  จำนวนหนึ่ง   ไปบูชาดิน    และสิ่งศักดิ์สิทธ์ในพื้นดิน
          เดือนสิบ    บุญข้าวสารท  คือ    บุญประเพณีที่ชาวบ้านจะนำข้าวห่อเล็ก  อาหารหวาน  คาวและกระยาสารท  ซึ่งทำจากข้าวดอก   ถั่ว  น้ำตาล    มะพร้าว    คลุกให้เข้ากัน  นำไปถวาย
          เดือนสิบเอ็ด    บุญออกพรรษา   คือ    บุญประเพณีที่เมื่อถึงวันออกพรรษา  ชาวบ้านจะไปเวียนเทียนที่วัด    ก่อนวันออกพรรษา   บางหมู่บ้านจะมีการแห่ปราสาทผึ้ง   โดยนำขี้ผึ่งมาทำเป็นรูปปราสาทแห่ไปถวายที่วัด   รุ่งขึ้นจึงเป็นวันออกพรรษา  ในตอนเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร
          เดือนสิบสอง    บุญกฐิน    คือ    บุญประเพณี  เมื่ออกพรรษาแล้ว  ทุกหมู่บ้านจะมีการทอดกระฐินถวายที่วัดในหมู่บ้าน  หรือวัด  อื่น  ๆ   ตามศรัทธา  ส่วนบุญผ้าป่านั้นจะทำได้ทุกเดือน   ตามแต่ศรัทธา
8.3     ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
8.4     สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
9.       ทรัพยากรธรรมชาติ
9.1     น้ำ
9.2     ป่าไม้
9.3     ภูเขา
9.4     คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ